กฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บร
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก ชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้
กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้จะต้องได้รับโทษทางอาญา โทษทางอาญา แบ่งได้ 5 ชนิด คือ
ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน (ริบเอาสิ่งของเงินทอง เป็นของรัฐ)
การที่จะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำการใดๆ ในขณะที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า การกระทำนั้นๆ เป็นความผิดทางอาญา และ บุคคลนั้นต้องได้กระทำไปโดยมีเจตนาด้วย เว้นแต่ว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า แม้จะไม่ได้มีเจตนา ก็ให้ถือว่าเป็นความผิด เช่น กระทำโดยประมาท กระทำไปโดยไม่มีเจตนา เป็นต้น ความผิดทางอาญา มี 2 ประเภท คือ
ความผิดต่อแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้ เช่น ฆ่าคนตาย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความกันได้ เช่น ยักยอกทรัพย์ หมิ่นประมาท
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับข้องการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของหมออนามัย เช่น
ความผิดเกี่ยวกับการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทรัพย์ ชีวิตร่างกายผู้อื่น การปลอม เสรีภาพและชื่อเสียง